บริษัทแบบเจ้าของคนเดียว ทางเลือกใหม่ของร้านออนไลน์

365Town-Banner - Sole proprietorship.png

นอกจากเรื่องเพิ่มยอดขายแล้ว อุปสรรคในการขายของออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของเสียภาษีใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งถ้ารายรับเยอะและไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องเสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา สิ้นปีเหมือนสิ้นใจ จ่ายภาษีกันบานตะไท เพราะข้อจำกัดของการจดทะเบียนบริษัทที่ต้องมีหุ้นส่วนไม่น้อยกว่า 3 นั้นเอง ทำให้ร้านเรายังคงต้องจำใจจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าการที่เราเป็นบริษัทจำกัด

แต่อีกไม่นานต่อจากนี้ร้านออนไลน์จะสามารถจดทะเบียนบริษัทจำกัด มีสถานะเป็นนิติบุคคลได้แม้จะมีผู้ก่อตั้งหรือเจ้าของเพียงแค่ 1 คน ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงที่รัฐบาลกำลังร่าง พรบ.จัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียวอยู่ เมื่อประกาศใช้แล้ว ร้านออนไลน์แบบเราก็เตรียมใส่เกียร์เดินหน้า เปลี่ยนร้านเล็กๆของเราให้เป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือได้ 

คราวนี้เรามาดูกันว่า บริษัทจำกัดคนเดียว มีอะไรแต่ต่างจากบริษัทจำกัดเเบบเดิมบ้าง

  • มีเพียงคนเดียวก็จดทะเบียนได้

จากแต่ก่อนที่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้นต้องมีผู้ร่วมก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน ตอนนี้ถึงจะมีคุณแค่คนเดียวก็สามารถจดทะเบียนได้เช่นกัน คล่องตัวขึ้นเยอะ ไม่ต้องหาคนมาหุ้น ไม่ต้อยมาคอยกังวลอีกว่าคนที่เราหุ้นด้วยจะมาโกงเราทีหลังไหม ช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เร็วขึ้น เพราะเรามีอำนาจสูงสุดคนเดียวนั่นเอง

  • ตั้งชื่อได้เหมือนบริษัททั่วไป แต่แค่ต้องมีคำลงท้ายว่า (คนเดียว)

เรื่องของการตั้งชื่อบริษัท ส่วนนี้ก็สำคัญ เพราะชื่อเสียงมีผลต่อความน่าเชื่อถือ ชื่อดีๆก็ช่วยส่งเสริมเรื่องดีๆ ซึ่งการจดทะเบียนแบบเจ้าของคนเดียว เราสามารถตั้งชื่อบริษัทได้ตามที่ใจเราต้องการได้เลย แต่แค่เราจะต้องมีคำลงท้ายชื่อบริษัทว่า (คนเดียว)  อย่างเช่น บริษัท xxxxx จำกัด (คนเดียว)  แต่หากว่าในอนาคตมีผู้มาถือหุ้นเพิ่มก็สามารถเปลี่ยนเป็นบริษัทจำกัดได้ แบบไม่ต้องมี (คนเดียว) ลงท้ายอีกต่อไป

  • ความรับผิดชอบก็รับไปเต็มๆ คนเดียว รวมทั้งต้นทุนและกำไร

ในกรณีที่จดทะเบียนบริษัทแบบเจ้าของคนเดียว เจ้าของบริษัทจะมีหน้าที่รับผิดชอบทุนทั้งหมดที่ลงไปในบริษัท ส่วนการจ่ายเงินปันผล ต้องจ่ายจากกำไรสะสม และต้องสำรองเป็นทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5  ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดทุนก็ได้ แต่การลดทุนต้องต้องไม่เกิน 1/4  ของทุนจดทะเบียนเดิม

  • แปรสภาพเป็น 'บริษัทจำกัด' ได้

อนาคตเมื่อมีหุ้นส่วนเพิ่ม ก็สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ แต่องค์ประกอบต้องครบตามเงื่อนไขของบริษัทจำกัด และทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่าทุนชำระแล้วของบริษัทที่แปรสภาพ

แต่การที่คุณจะตัดสินใจว่าจะดำเนินธุรกิจของคุณในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละร้านค่ะ เช่น หากลูกค้าคุณเป็นบริษัท และรายรับของร้านคุณสูงมาก การเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลอาจจะเหมาะมากกว่า ทั้งในเรื่องของ ความน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้ารวมถึงฐานภาษี แต่ถ้าร้านคุณเป็นร้านเล็กๆ ยอดขายไม่เยอะ แค่เปิดร้านแก้เหงายามว่าง คงไม่เหมาะกับแบบบริษัทเป็นแน่ เพราะคุณคงไม่อยากมานั่งวุ่นวายเรื่องเอกสารในการซื้อขายแต่ละที ใบกำกับภาษี โน่นนี่ให้ปวดหัวใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้น ร้านใครร้านมันค่ะ ขนาดธุรกิจของร้านเราเป็นแบบไหนควรเลือกให้เหมาะสมจะดีกว่าค่ะ 😊

 

 

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?