ภาษีขายของออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ เข้าใจง่าย 3 นาที อัปเดต 2023

BN_Tax-calculate#2.png

เมื่ออาชีพขายของออนไลน์ช่วยสร้างรายได้อย่างดี แถมไม่ต้องลาออกจากงานประจำก็ทำได้ อาชีพนี้จึงกลายเป็นอาชีพยอดนิยมของยุคนี้ และเมื่อเรามีรายได้เป็นของตัวเอง หน้าที่สำคัญที่จะลืมหรือเลี่ยงไม่ได้เลยนั่นก็คือ "หน้าที่การเสียภาษี" และ ปีนี้สรรพากรเริ่มเอาจริงเอาจังกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีให้ถูกต้องกันแล้ว ฉะนั้น! วันนี้มาทำความเข้าใจเรื่องของภาษีกันว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยค่ะ

สนใจตรงไหน เลือกอ่านได้เลย!


ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน? ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษียังไง?

ทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่ง ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้ค่ะ

  • ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงวันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา (เช่น รายได้ในปี 2565 ต้องยื่นภายใน มี.ค. 2566)

  • ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงวันที่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. ของทุกปี เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000


คำนวณภาษีอย่างไร?

สำหรับร้านค้าออนไลน์ ภาษีหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และ เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท)

ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์มักจะไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ วันนี้พิมเพลินขอพูดถึงเฉพาะการคำนวณภาษีแบบบุคคลธรรมดาละกันค่ะ ซึ่งการคำนวณภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดานั้น สูตรคือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย จุดสำคัญอยู่ที่ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน นั่นเองค่ะ

ข้อควรรู้ : กรณีที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้ (ย้ำนะคะว่ารายได้ ไม่ใช่กำไร) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วยนะคะ ซึ่งกฎหมายจะบังคับให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยปัจจุบันยังจัดเก็บอยู่ที่ 7% นั่นเองค่ะ

Page365 แนะนำ
ให้เรื่องบัญชีรายได้จากการขายของออนไลน์และภาษีจัดการง่ายขึ้นอีกขั้น ด้วยการใช้ Page365 สามารถเชื่อมกับระบบบัญชี Peak Account ส่งข้อมูลรายได้การขายผ่าน บิลออนไลน์ ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบบัญชี พร้อมสู่การยื่นภาษีอย่างถูกต้องค่ะ


ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์มีกี่แบบ?

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง

  2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเย๊อะมว้าาาาาก

  3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษี 0.5% หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)


ยังมีเรื่อง การลดหย่อน และตารางอัตราภาษี อีกด้วยนะ !!

การลดหย่อนภาษี คือ รายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ เพื่อให้เราคำนวณ รายได้สุทธิ ออกมากและนำไปเปรียบเทียบคิดภาษีกับตารางอัตราภาษี ที่เรามักจะได้ยินว่า คำนวณภาษีแบบขั้นบันได นั่นแหล่ะค่ะ

สูตรคือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย ที่เรียกว่าขั้นบันไดเพราะว่า เมื่อเราได้ รายได้สุทธิ แล้วต้องนำรายได้สุทธินั้นมาเทียบกับกับตารางอัตราภาษี เพื่อดูว่า เราจะเสียภาษีเท่าไร (รายได้สุทธิคือ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2565 ใช้ยื่นปี 2566

ศัพท์ภาษีน่ารู้
รายได้สุทธิ หมายถึง รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนต่างๆ
ค่าลดหย่อน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้
อัตราภาษี หมายถึง อัตราภาษีที่รัฐบาลประกาศ


มาลองคำนวณภาษีแบบวิธีที่ร้านส่วนใหญ่ใช้ คือ หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา กันดีกว่า...

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิต่อปี อัตราภาษี
0 - 150,000 *ได้รับการยกเว้นภาษี*
150,001 - 300,000 5%
300,001 - 500,000 10%
500,001 - 750,000 15%
750,001 - 1,000,000 20%
1,000,001 - 2,000,000 25%
2,000,001 - 5,000,000 30%
5,000,001 บาทขึ้นไป 35%

ลองใส่ตัวเลขเข้าไปดูค่ะ ยกตัวอย่าง

  • นาย A มีรายได้จากการขายของออนไลน์ 1,000,000 บาท

  • คิดภาษีด้วยการหักค่าใช้จ่ายตามอัตราคือ 60% เท่ากับค่าใช้จ่าย 600,000 บาท

  • มีค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว 60,000 บาท

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

จากนั้นนำรายได้สุทธิไปเทียบกับตารางอัตราภาษี

(1,000,000 - 600,000 -60,000) = รายได้สุทธิ 340,000 บาท

เงินได้สุทธิต่อปี

อัตราภาษี

เทียบอัตรา

ภาษีที่ต้องเสีย

0 - 150,000

*ได้รับการยกเว้นภาษี*

เงินบาทที่ 0 - 150,000 = ได้รับการยกเว้นภาษี

ได้รับยกเว้น

150,001 - 300,000

5%

เงินบาทที่ 150,001 - 300,000 = เสียภาษี 5%

7,500 บาท

300,001 - 500,000

10%

เงินบาทที่ 300,001 - 340,000 = เสียภาษี 10%

4,000 บาท

500,001 - 750,000

15%

750,001 - 1,000,000

20%

1,000,001 - 2,000,000

25%

2,000,001 - 5,000,000

30%

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

ภาษีที่นาย A ต้องเสียเท่ากับ 7,500 + 4,000 = 11,500 บาท

ทั้งนี้ภาษีจะเสียมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนเนี่ยล่ะค่ะ เช็กข่าวสารกันให้ดี เพราะแต่ละปีสรรพากรประกาศค่าลดหย่อนไม่เท่ากันนะคะ อาจทำให้เราวางแผนผิดกันได้ค่ะ


แล้วปีนี้มีอะไรสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง?

อย่างที่บอกไปค่ะว่า แต่ละปี สรรพากรจะประกาศลดหย่อนไม่เท่ากัน สำหรับของปี 2565 เพื่อยื่นภาษีในปี 2566 มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้างมาดูกันค่ะ

เงินได้สุทธิต่อปี อัตราภาษี
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนบิดา - มารดา คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
ค่าฝากครรภ์และทำคลอด จ่ายตามจริงและไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
ประกันสังคม 6,300 บาท
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุภาพบิดา - มารดา จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช) 13,200 บาท
เงินลงทุนธุรกิจ social enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ดอกเบี้ยบ้าน จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
เงินบริจาคพรรคการเมือง จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/ กีฬา/ การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ช้อปดีมีคืน (1 ม.ค. - 15 ก.พ. 2565) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

ข้อควรรู้!! : สำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม การลง ในส่วนของประกันชีวิตบำนาญ, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุน RMF, กองทุน SSF, กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครู,กองทุนออมแห่งชาติ ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทค่ะ

ช้อปดีมีคืน 2566 มีไหม? ใช้ลดหย่อนได้เมื่อไหร่?

มีแน่นอนค่ะ โดยโครงการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” ที่จะนำไปใช้ลดหย่อนภาษีในปี 2567 จะสามารถใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2566 รวมทั้งสิ้น 46 วัน โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 40,000 บาท ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้ค่ะ

  1. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 30,000 บาท ที่มีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์
    e-Tax Invoice & e-Receipt

  2. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 10,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice &
    e-Receipt เท่านั้น

 
Page365 ช้อปดีมีคืน 2566

ภาพจาก: เว็บไซต์กระทรวงการคลัง

 
Page365 แนะนำ
สำหรับการขอใบกำกับภาษี e-Tax Invoice & e-Receipt ถ้าซื้อของชิ้นใหญ่ ๆ อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พิมเพลินแนะนำว่าให้ขอใบกำกับภาษี e-Tax Invoice เลยค่ะ เพราะสามารถลดได้ 40,000 บาท แต่ถ้าเป็นแบบกระดาษจะนำมาลดได้แค่ 30,000 บาทค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงการคลัง และ itax.in.th


ข้อควรรู้เรื่องภาษีออนไลน์ "อีเพย์เมนต์ (e - Payment)"

แม่ค้าออนไลน์สงสัยกันใช่มั๊ยละคะว่า “แล้วสรรพากรจะรู้ได้ยังไงว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น?” ตอนนี้มีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อีเพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบมีดังนี้ค่ะ

  1. เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม

  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

เงื่อนไขที่กล่าวมานี้ หากธนาคารพบว่าบัญชีใดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็มีสิทธิ์ถูกตรวจสอบและทำการส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรค่ะ แต่ถ้าคุณพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์รู้สึกสงสัยเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) สามารถวาร์ปไปที่ ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีแบบไหนให้กรมสรรพากรบ้าง? (ฉบับอัปเดทปี 2022) ได้เลยค่าา


โปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์

สำหรับใครที่อ่านมาเยอะแล้วก็ยังคงงงอยู่ดี ไม่ต้องกลัวค่ะ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีช่วยเราได้ เลิกกังวลแล้วมองหาตัวช่วยในการคำนวณภาษีได้ที่นี่เลยค่ะ แค่ใส่ตัวเลขก็คำนวณยอดภาษีออกมาให้เราได้เลย

1. RD Smart Tax

เป็นแอพสำหรับมือถือมีให้ใช้ทั้ง iOS และ Android หาดาวโหลดเอามาคำนวณกันได้เลย 

3.jpg

2. เว็บไซต์ของธนาคาร

ถ้ากังวลเรื่องความปลอดภัยการใช้โปรแกรมหรือแอพบนมือถือล่ะก็ เว็บของธนาคารก็มีไว้รองรับและช่วย พ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์ ในการคำนวณภาษีเช่นกันค่ะ

3. iTAX Pro

 
Page365 ภาษีขายของออนไลน์ iTAX Pro
 

โปรแกรมสุดท้ายสำหรับช่วยคำนวณภาษีกับ iTAX Pro โปรแกรมนี้มีให้ใช้ทั้งบนคอมฯ และมือถือ แอพหน้าตาสวยงามดูง่าย กรอกตัวเลขเป็นขั้นตอนชัดเจน ไม่งงงวยเหมือนเวลาเรากรอกในเว็ปสรรพากรแน่นอน ลองโหลดนำไปคำนวณภาษีกันได้เลยจ้า มีให้ใช้ทั้ง iOS และ Android เช่นกัน

Page365 แนะนำ
วางแผนภาษีร้านออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยการ Export บิลออนไลน์ และ ใบกำกับภาษี ช่วยสรุปยอดขายรายเดือนได้ในคลิกเดียว อย่าลืมขอใบกำกับภาษีในทุกการใช้จ่ายในร้านออนไลน์ เช่น ค่าโฆษณาเฟสบุ๊ค ค่าขนส่ง เป็นต้น เพื่อใช้คำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของร้านค้าด้วยนะคะ

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ เราผู้เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้เช่นกัน เพราะหากเราไม่ทำการยื่นภาษี เราจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แถมยังต้องเสียค่าปรับอีกด้วย ทางที่ดีทำให้ถูกต้องตามกฎหมายไว้ก่อน สบายใจกว่ากันเยอะค่ะ

 

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?